เพื่อน ๆ น้อง ๆ คนไหนที่จบใหม่แล้วมีพฤติกรรมแบบนี้กันบ้างมั้ย ต้นเดือนอารมณ์ดี เห็นอะไรก็ได้กิน ได้ซื้อ ตามที่ต้องการ กลางเดือนเริ่มสะดุด จะซื้ออะไร กินอะไร ต้องขอคิดดูก่อนนะ ปลายเดือนนี่น้ำตาไหล หัวใจจะขาด ไม่มีเงินพอจะกินแล้ว จะรูดบัตรเครดิต แต่ละทียังไม่กล้าทำเลย บางคนอาจจะคุ้น ๆ กับการใช้ชีวิตแบบใช้เงินเดือน (เกือบ) ไม่ชนเดือน แต่บางครั้งเงินเดือนขึ้นก็ยังเป็นเหมือนเดิม แบบนี้มาดูกันดีกว่าว่า เราจะมีวิธีการจัดการรายได้ใหม่อย่างไรดี
เด็กจบใหม่ จัดการรายได้ ยังไงดี
วิธีเริ่มง่าย ๆ คือการจดบันทึกรายรับ รายจ่ายทั้งหมด แล้วทำการตรวจสอบทุก ๆ เดือนว่าใช้จ่ายไปกับอะไร หลังจากนั้นนำรายการเหล่านี้มาเปรียบเทียบกันดู ตรงนี้จะช่วยทำให้เพื่อน ๆ เห็นภาพรวมของนิสัยการใช้เงินของตัวเองได้ จากนั้นค่อยมาประเมินจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละเดือน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้จะดี หักส่วนที่เราต้องการออม ออกก่อนเลย อาจจะประมาณ 1,000 – 3,000 ต่อเดือน แล้วแบ่งสัดส่วนเงินที่เหลือมาคำนวนใช้จ่ายว่า ต้องใช้ในแต่ละเดือนไปกับอะไรบ้าง
วันนี้ masii ยกตัวอย่างของเพื่อน ๆ น้อง ๆ คนไหนที่ได้เงินเดือน 15,000 บาทกัน ว่าการจะเก็บเงินออมได้หลายวิธีนั้น มีอะไรบ้าง
-
แบ่งเงินไว้ออม
อย่างที่ได้บอกไปแต่ต้นแล้วว่า เราควรจะออมเงินก่อน แล้วใช้เงินในส่วนที่เหลือ เริ่มต้นจะกำหนดจำนวนเงินออมตายตัวอยู่ที่เดือนละ 2,000 บาท อาจจะไม่ได้เป็นเงินจำนวนที่มากมายนัก แต่ก็เป็นการเริ่มต้นสิ่งเล็ก ๆ ที่สำคัญ สะสมไปเรื่อย ๆ จากก้อนเล็กก็จะกลายเป็นก้อนใหญ่ในไม่นานอย่างแน่นอน
-
ค่าที่พักอาศัย 5,000 บาท
บางที เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะต้องการความสะดวกสบาย ไม่อยากเดินทางไกล มีห้องพักใกล้ที่ทำงาน การหาที่พักอาศัยนั้น งบประมาณไม่ควรที่จะเกิน 5,000 – 6,000 บาทต่อเดือนนะ เพราะหากมากไปกว่านี้อาจจะไม่มีเงินออมที่เพียงพอในแต่ละเดือน หรืออีกหนึ่งวิธีคือ การหาคนร่วมเช่า ก็จะช่วยประหยัดได้มากขึ้น
-
ค่าอาหาร 4,500 บาท (โดยประมาณ)
มาถึงกึ่งกลางแล้ว เท่ากับว่าเพื่อน ๆ น่าจะมีเงินเหลือโดยประมาณ 8,000 บาท มาดูกันดีกว่าว่า เรื่องอาหารการกินต้องทำอย่างไรบ้าง หากทุก ๆ วันเพื่อน ๆ สามารถจัดการให้ค่ากินอยู่ที่ 150 บาทได้ เท่ากับว่าจะใช้เงินไปเพียง 4,500 บาทต่อเดือนเอง เมื่อทราบแบบนี้แล้ว ก็กำหนดเงินส่วนนี้ให้เป็นเงินสำหรับค่าอาหารรายเดือนได้เลย วันไหนอยากจะรับประทานของดี วันอื่น ๆ ก็ควรที่จะดาวน์เกรดลงมานิดเพื่อสัมพันธ์กันนั้นเอง
-
ค่าเดินทาง
สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่มีรถยนต์ส่วนตัว อย่าลืมคิดเรื่อง ค่าน้ำมันที่ต้องใช้ต่อเดือนด้วยนะ รวมค่าทางด่วนด้วย สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่ยังใช้การขนส่งสาธารณะอยู่ อาจจะคำนวนหน่อยว่าเราต้องเดินทางกี่ต่อ ลดค่าใช้จ่ายตรงไหนได้บ้าง รถเมล์ รถตู้ หากสามารถนั่งได้ ก็ควรที่จะนั่งเพื่อเป็นการประหยัดเงิน ส่วนสายรถไฟฟ้าเติมเงินเป็นรายเที่ยวรายเดือน จะคุ้มและประหยัดเงินกว่า
-
เงินออมเผื่อฉุกเฉิน
เงินออมเผื่อฉุกเฉินนั้นในส่วนนี้จะเป็นเงินที่เราสามารถนำออกมาใช้ได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา เช่น ประสบอุบัติต้องเข้าโรงพยาบาล เป็นต้น หากคำนวนดูแล้วค่าเดินทางรายเดือนตกอยู่ที่ 1,000 บาท เพื่อน ๆ จะเหลือเงินอยู่ 2,500 บาท ให้เงินค่าเหตุฉุกเฉินเป็นครึ่งหนึ่งของเงินที่เหลือจาก 3 ข้อนั้น จะเท่ากับ 1,250 บาทนั่นเอง
เท่านี้เพื่อน ๆ ก็น่าจะทราบแล้วว่า การจัดการรายได้จริง ๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเลย เพียงแค่เราต้องใช้เวลาสักนิด ทบทวนรายได้ของเรา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ทำการวิเคราะห์ง่าย ๆ ให้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน แค่นี้การวางแผนจัดการรายได้ก็ไม่ยากเลย
เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล
การบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ นอกจากจะขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต และวินัยทางการเงินของเราแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย หากวางแผนรายรับ รายจ่ายได้ดี รับรองว่าไม่มีปัญหาเหตุการณ์ใช้เงินเดือนชนเงินเดือน หรือ เดือนไม่ชนเดือนแน่นอน สนใจเปรียบเทียบสินเชื่อบุคคลให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ คลิกที่นี่ หากมีข้อมูลสงสัยอยากสอบถาม สามารถแอดไลน์มาได้เลยที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เรามีทีมงานที่แสนน่ารักคอยให้คำตอบอยู่จ้า