เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ภาษีรถยนต์ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับรถยนต์ทุกคัน เพราะต้องมีการ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์เป็นประจำทุกปี ซึ่งหากใครที่ชำระภาษีรถยนต์ล่าช้าจะต้องเสียค่าปรับ และหากขาดชำระติดต่อกันนาน 3 ปี ทะเบียนรถยนต์จะถูกระงับและต้องทำเรื่องขอทะเบียนใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ใครหลายคนอาจยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับภาษีรถยนต์มากเท่าไรนัก วันนี้ masii เลยได้นำความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ ภาษีรถยนต์ มาฝากกันแล้ว ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

1. ต่อภาษีรถยนต์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

  • หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ หรือใบแทน
  • เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ฉบับปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (วันหมดอายุต้องเหลือมากกว่า 90 วัน)
  • ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
  • เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG)

2. ต่อภาษีรถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

  • สำนักงานขนส่งทางบก
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
  • เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th  (เฉพาะรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี)

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

3. ภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร

  • รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู (รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ) จะคำนวณภาษีตามขนาดเครื่องยนต์
    • 600 ซีซีแรก ซีซีละ 50 สตางค์
    • 601 – 1,800 ซีซีละ 1.50 บาท
    • 1,800 ซีซีขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท

ตัวอย่าง : รถยนต์ขนาดเครื่องยนต์ 1,500 ซีซี

  1. 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
  2. 601-1500 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท = (1,500 – 600) = 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท
  3. เมื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมด มารวมกันจะเท่ากับราคาภาษีรถยนต์ที่ต้องเสีย คือ 300 + 1,348.50 = 1,648.50 บาท

โดยรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%, 7 ปีลด 20%, 8 ปีลด 30%, 9 ปีลด 40% และ 10 ปีเป็นต้นไปลด 50%

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

  • รถกระบะ 2 ประตู (รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว) จะคำนวณภาษีจากน้ำหนักรถ
    • น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
    • น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
    • น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
  • รถตู้ (รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน) จะคำนวณภาษีจากน้ำหนักรถ
    • น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
    • น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

4. ต่อภาษีรถยนต์ ล่วงหน้าได้กี่เดือน

เราสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า ก่อนวันหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ ประมาณ 90 วัน และสามารถต่อภาษีรถยนต์ย้อนหลังได้ (กรณีที่ชำระภาษีล่าช้า) แต่จะโดนค่าปรับ คิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน แต่ถ้าขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนรถยนต์ ต้องติดต่อกับทางกรมขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการขอทะเบียนรถยนต์ใหม่

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

เป็นอย่างไรบ้างกับความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ ภาษีรถยนต์ ที่มาสินำมาฝากกันในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามควรขับขี่รถยนต์กันอย่างปลอดภัย ไม่ประมาท เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ และถ้าจะให้ดีมาสิแนะนำว่าควรทำประกันรถยนต์ไว้เพื่อความอุ่นใจ หากเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ ก็ยังได้รับความคุ้มครองนั่นเอง

สนใจสมัครประกันรถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร

โดยเพื่อนๆ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ หรือโทร.มาพูดคุยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง ประกันภัยร้านกาแฟ รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ

car insurance banner