ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ถือเป็นเอกสารราชการที่อนุญาตให้ผู้ถือสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนนได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งจะได้เมื่อผู้ยื่นคำร้องผ่านการทดสอบขับรถก่อนเรียบร้อย โดยในปัจจุบันมีการปรับปรุงเนื้อหาการอบรมประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการขับขี่และการจราจรเพิ่มมากขึ้น จากนั้นจึงเข้าการสอบภาคทฤษฎีและสอบภาคปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป
รู้ไหม? สอบใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง
1. จองคิวเข้ารับการอบรม ซึ่งสามารถจองคิวได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
- กรมการขนส่งทางบก ในเขตพื้นที่ใกล้บ้าน พร้อมหลักฐานประกอบคำขอ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา และใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 1 เดือน)
- จองทางโทรศัพท์ 02-271-8888 หรือ 1584
- จองคิวอบรมผ่านเว็บไซต์ ebooking.dlt.go.th/ebooking
2. ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย
หลังจากที่จองคิวอบรมทำใบขับขี่และทราบวันเวลาเรียบร้อยแล้ว เมื่อมาถึงวันอบรวม ทุกคนจะต้องเข้ารับการตรวจสมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งเป็นการทดสอบปฏิกิริยา และการทดสอบสายตา ดังนี้
- ทดสอบสายตาทางกว้าง
- ทดสอบสายตาทางลึก
- ทดสอบการตอบสนองของเท้า
- ทดสอบตาบอดสี
3. เข้ารับการอบรม
จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการอบรม โดยจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหาในการอบรมจะเกี่ยวกับความรู้ด้านกฎหมายการจราจรทางบก เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย มารยาทในการขับรถ ความรับผิดชอบของผู้ขับรถ และการบำรุงรักษารถ เป็นต้น
4. สอบข้อเขียน
ผู้เข้าอบรมจะต้องทำการสอบข้อเขียน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎจราจรและป้ายจราจรต่างๆ เป็นข้อสอบปรนัย ทั้งหมด 50 ข้อ มีให้เลือกตอบ ก–ง ผู้สอบจะต้องทำคะแนนให้ได้ 45 คะแนน หรือคิดเป็น 90% ของข้อสอบทั้งหมด แต่หากสอบไม่ผ่านเกณฑ์ สามารถมาสอบใหม่ได้ภายใน 90 วัน
5. สอบภาคปฏิบัติ
สำหรับการสอบภาคปฏิบัติ หรือการสอบขับรถ ผู้สอบสามารถใช้รถของตัวเองหรือเช่ารถมอเตอร์ไซค์ของกรมขนส่งก็ได้ ค่าเช่าคันละ 50 บาท โดยการทดสอบความสามารถจะมีด้วยกัน 5 ท่า (เลือกสอบ 3 ใน 5 ท่า) ดังนี้
- ท่าที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์โดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
- ท่าที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ ทรงตัวบนทางแคบ ทรงตัวไว้โดยไม่ให้เท้าแตะพื้นประมาณ 10 วินาที
- ท่าที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้งแคบ รูปตัว Z
- ท่าที่ 4 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้ง รูปตัว S
- ท่าที่ 5 ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซก ผ่านสิ่งกีดขวาง
6. ใบขับขี่พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
เมื่อทำการสอบผ่านทั้งข้อเขียนและภาคปฏิบัติเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาถ่ายรูปทำใบขับขี่กันแล้วล่ะค่ะ พร้อมกับเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งประกอบด้วยค่าคำขอ 5 บาท ค่าใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 100 บาท เป็นทั้งสิ้น 105 บาท
ทั้งนี้ใบขับขี่ที่ได้มาจะเป็นใบขับขี่ชั่วคราวซึ่งมีอายุเพียง 1 ปี พอครบกำหนด ก็ต้องมาต่ออายุบัตรให้เป็นแบบ 5 ปี โดยต้องทำการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย และยื่นเอกสารต่อใบขับขี่ แต่ไม่ต้องสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติค่ะ
สนใจสมัครประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์
เมื่อสอบผ่านและได้ใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์มาเรียบร้อยแล้ว ก็ควรใช้รถอย่างระมัดรระวัง ไม่ประมาท เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ ทางที่ดีควรทำประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ไว้ด้วย หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ก็ยังมั่นใจว่าจะได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ โดยคุณสามารถเลือกเปรียบเทียบประกันรถมอเตอร์ไซค์ได้เพียง คลิกที่นี่ หรือโทรสอบถามที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) ทีมงานทุกคนพร้อมให้คำปรึกษาค่ะ