หากคุณจะไปเที่ยวเมืองนอก คุณคิดว่า ใช้จ่ายที่ต่างประเทศ ด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินสด ดีกว่ากัน? คุ้มกว่ากัน? วันนี้ มาสิ จะมาเปรียบเทียบให่เห็นกันชัดๆ ว่าการใช้จ่ายแบบต่างๆ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรครับ ในวันนี้ มาสิ ขอเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันกันสักหน่อย เพราะตอนนี้หลายๆ ประเทศ สถานการณ์โรคระบาดอย่าง โควิด-19 คลี่คลาย และได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวกันบ้างแล้ว มาสิ เลยอยากบอกต่อ ! ใช้จ่ายที่ต่างประเทศ บัตรเดบิต เงินสด บัตรเครดิต จ่ายด้วยอย่างไหนดีสุด? ไปดูกัน…
masii บอกต่อ ! ใช้จ่ายที่ต่างประเทศ บัตรเดบิต เงินสด บัตรเครดิต จ่ายด้วยอย่างไหนดีสุด?
ใช้จ่ายที่ต่างประเทศ ด้วย ” บัตรเครดิต “
เหมาะสำหรับ : ซื้อสินค้าหรือใช้บริการร้านค้าที่มีราคาแพง เช่น ซื้อตั๋วเครื่องบิน จองตั๋วโรงแรม เช่ารถยนต์ หรือจ่ายค่าอาหารตามภัตตาคารหรู เป็นต้น
ข้อดี : การใช้บัตรเครดิตจะมีประโยชน์มากที่สุด หากคุณซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่มีราคาสูง มีความปลอดภัยในการใช้จ่าย ทำให้ไม่ต้องกำเงินสดก้อนใหญ่ๆ เอาไว้ล่อตาโจร หากคุณต้องการยกเลิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ โดยสามารถรับเครดิตกลับคืนเข้าบัญชีอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน และที่สำคัญ บัตรเครดิตยังมีประกันการเดินทางให้คุณและครอบครัวแบบฟรี ๆ ซึ่งยอดทุนประกันนั้นสูงหลักล้านบาทเลยทีเดียว
ข้อเสีย : ร้านอาหารบางร้านหรือแม้กระทั่งโรงแรมบางแห่ง จะไม่สามารถใช้บัตรเครดิตในการชำระได้ หรือบางแห่งอาจจะไม่รับบัตร VISA, MasterCard, JCB หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องมีบัตรเครดิตที่แตกต่างกันเพื่อความครอบคลุม อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ( รวมถึงการเบิก เงินสด ) ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ จะถูกเรียกเก็บเป็นเงินบาทไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารถูกเรียกเก็บจาก ผู้ให้บริการเครดิต ( เช่น VISA, MasterCard etc. ) ที่ธนาคารเป็นสมาชิกอยู่ ณ วันที่มีการเรียกเก็บยอดค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ทั้งนี้ หากสกุลเงินต่างประเทศดังกล่าวไม่ใช่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยอดค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจจะถูกแปลงเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะทำการแปลงเป็นสกุลเงินบาทเพื่อเรียกเก็บกับธนาคาร โดยธนาคารต่าง ๆ จะคิดค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินดังกล่าวในอัตราไม่เกินร้อยละ 1-2.5 จากยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการแปลงสกุลเงินดังกล่าวข้างต้น นั่นทำให้หากคุณใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตมากเกินไป โดยที่ไม่สามารถชำระเงินคืนบัตรเครดิตเต็มจำนวนได้ อาจจะทำให้คุณเกิดภาระหนี้สินจำนวนมากได้นั่นเอง
ใช้จ่ายที่ต่างประเทศ ด้วย ” บัตรเดบิต หรือ บัตรเอทีเอ็ม “
เหมาะสำหรับ : ใช้จ่ายสิ่งของหรือบริการทุกอย่างในต่างประเทศ
ข้อดี : การใช้บัตรเดบิต จะสามารถช่วยให้คุณเบิกถอนเงินสดของต่างประเทศนั้นๆ ออกมาใช้ได้อย่างสะดวก ผ่านทางตู้ ATM ( สำหรับ บัตรวีซ่าเดบิต คุณต้องมองหาตู้เอทีเอ็มที่มีโลโก้ VISA หรือ PLUS ) และคุณยังสามารถใช้บัตรเดบิตรูดซื้อสินค้าได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมด้วย ตราบใดที่คุณยังมีเงินในบัญชีของบัตรเดบิตใบนั้น (แต่จะต้องเสียค่าความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสกุลเงิน ร้อยละ 1-2.5 ของยอดเงินที่ใช้จ่ายไป) โดยที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเป็นหนี้แบบบัตรเครดิต เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนกับการใช้เงินสดในรูปแบบบัตร
ข้อเสีย : การใช้จ่ายด้วย บัตรเดบิต เงินจะถูกตัดออกจากบัญชีของคุณทันที ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีมากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากมีข้อผิดพลาด สินค้ามีการชำรุด หรือบริการไม่เป็นไปตามที่คุณตกลงกับห้างร้าน แล้วต้องการจะยกเลิกการชำระเงินจะทำได้ยากมาก อาจจะต้องเสียเวลาเป้นเดือนๆ กว่าจะได้ยอดเงินที่ตัดไปแล้วกลับมา และที่สำคัญการเบิกถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มในต่างประเทศจะมีค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง ดังนั้น กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทางธนาคารผู้ออกบัตรของคุณก่อนนะครับ
ใช้จ่ายที่ต่างประเทศ ด้วย ” เงินสด “
เหมาะสำหรับ : ใช้ใน 24 ชั่วโมงแรกของการเดินทาง หรือจนกว่าคุณจะเจอตู้เอทีเอ็มที่ใกล้ที่สุด
ข้อดี : การมีเงินสดติดตัวมันจะทำให้คุณอุ่นใจกว่า เพราะคุณจะสามารถจับจ่ายซื้อของได้ทันที เช่น ซื้ออาหารที่สนามบิน หรือจ่ายค่าแท็กซี่ เป็นต้น อีกทั้งการมีเงินสดจะทำให้คุณไม่ต้องพบเจอกับปัญหาวุ่นวายต่าง ๆ อย่างเช่น กรณีที่สนามบินไม่มีตู้เอทีเอ็ม หรือการที่คุณมาถึงหลังจากที่สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินปิดทำการ หรือไม่ต้องหงุดหงิดใจกรณีที่ไปเจอร้านค้าที่ไม่รับบัตรเครดิต
ข้อเสีย : สิ่งแรกคือความเสี่ยงจากการถูกขโมย และอันตรายจากการปล้น การถืองบทั้งหมดในการท่องเที่ยวของคุณเป็นเงินสด อาจจะทำให้เป็นจุดสนใจของเหล่ามิจฉาชีพได้มาก สิ่งต่อมาคือ หากคุณแลกเปลี่ยนเงินสดก่อนที่คุณจะเดินทางออกนอกประเทศ คุณอาจจะไม่ได้รับอัตราการแลกเปลี่ยนที่ดีนัก และอาจยังต้องเสียค่าธรรมเนียมที่แพงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณมาแลกเปลี่ยนเงินในธนาคารต่างประเทศ หรือที่สนามบินของต่างประเทศ คุณอาจได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยน หรือทางธนาคารอาจลดค่าธรรมเนียมให้ครับ
จะเห็นว่าการใช้จ่ายแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป หากคุณผู้อ่านจะไปเที่ยวเมืองนอก ก็ควรเลือกการใช้จ่ายที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณจะดีที่สุด เพราะการใช้ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกันนั่นเองครับ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งที่ มาสิ นำมาฝากกัน อย่างไรก็ตาม ก่อนออกเดินทาง เที่ยวต่างประเทศ นอกจาก การเตรียมตัวเรื่องการ ใช้จ่ายที่ต่างประเทศเทศ แล้ว อย่าลืม เช็กมาตรการเดินทาง ของประเทศปลายทางที่คุณต้องการไปกันอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงเช็ก ประกันการเดินทาง อย่างครอบคลุม เผื่อมีเหตุฉุกเฉินใดๆ เกิดขึ้นจะได้มีตัวช่วยในต่างแดนได้ และเชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงกำลังวางแผนเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศกันอยู่แน่ๆ แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า แม้สถานการณ์โควิดจะดีขึ้นและไม่ร้ายแรงเหมือนก่อน รูปแบบการเดินทางนับจากนี้ไป คงไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว และสิ่งที่จะขาดไม่ได้จากการเดินทางไป เที่ยวต่างประเทศ ก็คือ การซื้อ ประกันเดินทาง ที่คุ้มครองโควิดด้วย ซึ่ง มาสิ ขอแนะนำ …
ประกันการเดินทาง ที่คุ้มครองโควิด จาก แอกซ่า ( AXA )
แอกซ่า ( AXA ) ห่วงใยให้คุณเดินทางอุ่นใจกับความคุ้มครองจาก ประกันการเดินทาง ที่ครอบคลุมไวรัสโคโรนา (COVID-19) เมื่อทำประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ
- สามารถขอเลื่อนวันคุ้มครองหากได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนาจนไม่สามารถเดินทางได้
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศ แม้เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทุกประเทศ ทุกแผนความคุ้มครอง
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องจากการรักษาตัวที่ต่างประเทศ โดยเข้ารับการรักษาภายใน 12 ชม. หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทย
- พร้อมบริการช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายทางการแพทย์เพื่อรักษาพยาบาลฉุกเฉินตลอด 24 ชม. ทั่วโลก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ประกันการเดินทาง ต่างประเทศ ที่ให้ความคุ้มครองในเรื่องการติดเชื้อ COVID-19 ของ แอกซ่า ( AXA )
Q : กรณีผู้เอาประกันภัยเดินทางไปต่างประเทศแล้วเกิดเจ็บป่วยและแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็น COVID-19 กรมธรรม์ ประกันการเดินทาง คุ้มครองหรือไม่?
A : หมวดค่ารักษาพยาบาล กรมธรรม์จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หากต้องได้รับการรักษาพยาบาลตามความจำเป็นทางการแพทย์ บริษัทจะคุ้มครองค่ารักษาในฐานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินผลประโยชน์ที่ทำไว้กับบริษัท
Q : กรณีผู้เอาประกันภัยเดินทางไปต่างประเทศ และวินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 และต้องนำตัวส่งสถานพยาบาลโดยรถพยาบาล ประกันการเดินทาง จะคุ้มครองค่ารถพยาบาลหรือไม่?
A : หากต้องมีการนำตัวส่งสถานพยาบาลโดยรถพยาบาล กรมธรรม์จะคุ้มครองภายใต้หมวดค่ารักษาพยาบาล
Q : กรณีผู้เอาประกันภัยถูกกักตัวไว้ไม่ให้เข้าประเทศปลายทางกรมธรรม์ ประกันการเดินทาง คุ้มครองหรือไม่?
A : ในระหว่างถูกกักตัวหากผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยและกรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองภายใต้หมวดค่ารักษาพยาบาล
……………………………………………………………………….
มาสิ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประกันการเดินทาง ที่คุ้มครองโควิด จาก แอกซ่า ( AXA ) จะสามารถตอบโจทย์ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยว ที่ต้องการความคุ้มครองความเสี่ยงการเดินทางเป็นระยะเวลาสั้นๆ ตามจำนวนวันที่เดินทางครับ ซึ่งใครที่ต้องการสมัคร ประกันเดินทาง สามารถ คลิกที่นี่ หรือโทรเข้ามาสอบถามได้ที่ 02 710 3100 รวมถึงแอด LINE @masii เพื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้รู้ได้เลยครับ
สนใจสมัคร ประกันการเดินทาง
ทุกๆ คน สามารถติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันการเดินทาง ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และ บัตรเครดิต จากสถาบันการเงินและบริษัทประกันชั้นนำ
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวประกันการเดินทาง
- Test & Go ปรับมาตรการใหม่ เริ่มใช้ 1 มีนาคมนี้ เที่ยวต่างประเทศไม่ต้องกักตัว แต่อย่าลืมทำประกันการเดินทางและประกันโควิดด้วยนะ
- มาท่องเที่ยวในประเทศกันดีกว่า แต่อย่าลืมทำประกันการเดินทางไว้ด้วยนะ
- เที่ยวไทย มีประกันการเดินทางติดตัวไว้ อุ่นใจทั้งทริป
- เลือกประกันการเดินทางอย่างไรให้คุ้มเงิน
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison