เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นมีความสำคัญและจำเป็นกับผู้ขับขี่รถยนต์เป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็น ประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำ ถ้าหากรถยนต์ไม่มี พ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ทั้งยังมีโทษทางกฎหมายอีกด้วย แต่ทั้งนี้อาจมีใครหลายคนที่ยังไม่ทราบว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไร และสามารถเบิกค่าความเสียหายอะไรได้บ้าง วันนี้ masii ก็มีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ มาฝากกันแล้ว ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไร เบิกอะไรได้บ้าง
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ถือเป็นการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่จะช่วยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างกายของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลภายนอก จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยรถยนต์คันที่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์
พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งจะได้เป็น ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งทางบริษัทประกันที่รับทำ พ.ร.บ. รถยนต์ จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอเรื่องค่าเสียหาย
ค่าเสียหายเบื้องต้น มีอะไรบ้าง
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพ จะได้ค่าเสียหายเบื้องต้น คนละไม่เกิน 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บ และทุพพลภาพในลำดับต่อมา จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยเป็นค่าปลงศพ 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตในภายหลัง จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมไม่เกิน 65,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทน
แต่ภายหลังที่มีการพิสูจน์คดีจากอุบัติเหตุแล้วพบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายนั้นจะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล สามารถเบิก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ
- สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป คนละ 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน คนละ 250,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวร คนละ 300,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป คนละ 500,000 บาท
- กรณีเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท แต่จะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 20 วัน
เอกสารที่ใช้ในการเบิก พ.ร.บ.รถยนต์
กรณีบาดเจ็บ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
กรณีทุพพลภาพ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองคนพิการ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่ระบุว่าผู้ประสบภัยเป็นผู้ทุพพลภาพ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน ที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต
- สำเนาใบมรณะบัตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรม
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน ที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตเพราะประสบภัยจากรถ
ทั้งนี้ ผู้ประสบภัย ผู้ได้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยธรรม สามารถทำเรื่องเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ได้ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ โดยยื่นเรื่องผ่านโรงพยาบาลให้เป็นผู้จัดการ หรือติดต่อบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (โทร. 1791)
พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้มากเลยทีเดียว แต่หากรถยนต์คันที่ประสบภัยไม่มี พ.ร.บ. จะส่งผลให้ผู้ประสบภัยไม่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าว ทั้งยังมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 อีกด้วย หากใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุ หรือใกล้จะหมดอายุแล้ว สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. หรือ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ
สนใจซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์
หรือหากใครอยากได้ความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถทำประกันรถยนต์ได้เพียง คลิกที่นี่ เพื่อซื้อประกันรถยนต์กับมาสิ หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถโทร.มาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทีมงานได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ รถยนต์ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ