สำหรับผู้ที่มีรถยนต์ส่วนตัว แน่นอนว่าต้องมีทั้งเรื่องของการทำ พ.ร.บ.รถยนต์ รวมไปถึง ภาษีรถยนต์ ทั้งนี้ใครหลายคนอาจคิดว่า การต่อภาษีรถยนต์ นั้นช่างเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสียเหลือเกิน เพราะต้องไปไกลถึงกรมการขนส่งทางบก อีกทั้งยังมีหลายขั้นขั้นตอนที่ใช้เวลานาน แต่ขอบอกเลยว่าการต่อภาษีรถยนต์ในปัจจุบันนี้ง่ายและสะดวกมากๆ ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องที่กรมขนส่งฯ เสมอไป ส่วนจะมีที่ไหนบ้างนั้น ตาม masii ไปดูกันเลย
ต่อภาษีรถยนต์ ที่ไหนดี?
1.ที่ทำการไปรษณีย์
ถึงแม้ว่าจะไม่สะดวกไปที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่ของคุณ หากคุณอยู่ใกล้กับที่ทำการไปรษณีย์เขตไหน ก็สามารถเข้าไปต่อภาษีรถยนต์ในเขตนั้นได้อย่างง่ายดาย โดยมีหลักฐานที่ต้องเตรียม ดังนี้
หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.รถยนต์
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)
ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีได้
- รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.1)
- รถยนต์ส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
- รถแทรกเตอร์ (รย.13)
- รถบดถนน (รย.14)
- รถพ่วง (รย.16)
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณสามารถทำเรื่อง ต่อภาษีรถยนต์ได้ ใครอยู่ใกล้สาขาไหน ก็เข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ได้เลยจ้า
หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษี ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. รถยนต์
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)
ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีได้
- รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.1)
- รถยนต์ส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
เงื่อนไขรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีได้ที่ ธ.ก.ส.
- ต้องเป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระ หรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
- สามารถยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
3. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ (ต่อภาษีวันเสาร์-อาทิตย์ได้)
หรือหากใครที่ชอบเข้าห้างสรรพสินค้าเป็นประจำ ก็สามารถทำการต่อภาษีรถยนต์ได้ อีกทั้งยังสามารถทำการ ต่อภาษีรถยนต์ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ได้อีกด้วย โดยมีห้างฯ ที่เข้าร่วม ดังนี้
- ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี 14 สาขา ตั้งแต่เวลา 09.00-100 น. ได้แก่ สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, อ่อนนุช, สุขาภิบาล 3, บางบอน, สุวินทวงศ์, แจ้งวัฒนะ, บางใหญ่, สำโรง, สมทุรปราการ และ บางนา
- เซ็นทรัลเวสต์เกต และเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เวลา 10:00-17:30 น.
- เซ็นทรัลศาลายา เวลา 10:00-18:30 น.
- เซ็นทรัลรามอินทรา เวลา 00 น. –17.00 น.
- เซ็นทรัลเวิลด์ เวลา 00 น. –18.00 น.
- ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค เวลา 00 น. –17.00 น.
- ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค พัฒนาการ เวลา 00 น. –17.00 น.
- ศูนย์บริการร่วม G – point เซ็นทรัลเวิลด์
- ศูนย์บริการร่วม G – point เซ็นทรัล ศาลายา
- ศูนย์บริการร่วม G – point เซ็นทรัล เวสต์เกต
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการในส่วนภูมิภาคอีก 50 แห่ง
หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ในห้างสรรพสินค้า
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือสำเนา
- หลักฐานการเอาประกันภัยตามพ.ร.บ. รถยนต์
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
- หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบ และเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีได้
- รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.1)
- รถยนต์ส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
4. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
แต่หากใครไม่สะดวกเข้าห้าง แค่แวะ 7-11 หรือร้านสะดวกซื้อที่มีบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ง่ายๆ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30 – 15.30 น.
หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ที่จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
- สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้
- รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.1)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
เงื่อนไข
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
- รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด 3 ปี ชำระได้ที่กรมขนส่งทางบกเท่านั้น
- กรมขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน
- ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท
5. เว็บไซต์ออนไลน์ของทางกรมการขนส่งทางบก
แต่ถ้าไม่สะดวกออกไปไหนจริงๆ ถ้ามีอินเตอร์เน็ตอยู่ที่บ้าน ก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้เลย เพียงเข้าเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก www.dlt.go.th เลือกหัวข้อบริการผ่านอินเตอร์เน็ต เเละคลิกที่ ชำระภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ว่าต้องทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถทำการต่อไปได้ ซึ่งสามารถต่อภาษีออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
- สำเนาทะเบียนรถยนต์ (กรณีที่รถยังติดไฟแนนซ์อยู่)
- พ.ร.บ.รถยนต์
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่เกิน 7 ปี
- เอกสารการรับรองติดตั้งแก๊ส และเอกสารตรวจสภาพจากวิศวกร สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG
ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีออนไลน์ได้
- รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี
- รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน
นอกจากจะไม่ต้องไป ต่อภาษีรถยนต์ ถึงกรมขนส่งฯ แล้ว รู้ไหมว่า เรายังสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ วันเสาร์-อาทิตย์ ได้อีกด้วย รวมถึงยังสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก นอกจากนี้ยังสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ กับมาสิได้ง่ายๆ เพียงโทร 02 710 3100 หรือหากใครต้องการ ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์กับมาสิได้เลยค่ะ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
หากใครต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม ก็อย่าลืมสมัครประกันรถยนต์กันด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ เป็นต้น โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อสมัครหรือเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับมาสิได้เลย แต่ถ้ามีข้อสงสัย ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โทรมาได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารหรือบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล หรือบัตรเครดิต จากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ