10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์
10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคน เพราะว่านอกจากจะเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นประจำทุกปีแล้ว ยังให้ความคุ้มครองต่อผู้ประสบภัยจากรถในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์อีกด้วย แต่ทั้งนี้เพื่อนๆ หลายคนอาจยังมีความสงสัยเกี่ยวกับกับ พ.ร.บ. รถยนต์ ในเรื่องต่างๆ วันนี้ masii เลยนำ 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ มาฝากกัน ไปดูกะนเลยว่ามีอะไรบ้าง

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

1. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์

กรณีที่ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะได้รับความคุ้มครองทันทีเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และหากพิสูจน์แล้วเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น (ได้ทุกฝ่ายโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ไม่ว่าเป็นฝ่ายถูกฝ่ายผิด)

  • ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ 35,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าปลงศพรายละ 35,000 บาท
  • หากเกิดความเสียหายหลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม (ได้เฉพาะฝ่ายถูก)

  • ค่ารักษาพยาบาลตามจริง เพิ่มได้คนละไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้เงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย 250,000 บาท
  • กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 200,000 บาท
  • ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
  • กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

2. ไม่มีคู่กรณี พ.ร.บ. ก็คุ้มครอง

แม้จะเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถคว่ำ รถชนเสาไฟฟ้า ลื่นไถล ตกข้างทาง หรือกรณีรถมอเตอร์ไซค์ล้มเอง ก็สามารถเบิกความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ได้ โดยจะได้รับเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

3. สามารถเคลม พ.ร.บ. ได้โดยไม่โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

ผู้ประสบภัยสามารถเคลม พ.ร.บ. ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงแจ้งสิทธิกับทางโรงพยาบาล พร้อมแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น และเตรียมเอกสาร พ.ร.บ. และบัตรประชาชนสำหรับยื่นประกอบ โดยจะรับความคุ้มครองเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท

หรือกรณีที่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนหน้านี้ สามารถเบิกพ.ร.บ. ย้อนหลังได้ภายใน 180 วัน ซึ่งต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้

  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
  • ใบรับรองแพทย์
  • เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์
  • เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบแจ้งความ สำเนาบัตรประชาชน ใบมรณะบัตร (กรณีเสียชีวิต) สำเนาใบขับขี่ สำเนาทะเบียนรถ

โดยสามารถยื่นเรื่องผ่านทางโรงพยาบาล หรือบริษัทประกันภัยที่ซื้อ พ.ร.บ. หรือติดต่อบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (โทร. 1791) ได้เลย

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

4. พ.ร.บ. ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ

พ.ร.บ.รถยนต์ จะคุ้มครองผู้ประสบภัยเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างกายเท่านั้น ไม่รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ หรือค่าเสียหายต่อทรัพย์สินอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่หากได้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 3+ ก็จะสามารถเคลมค่าซ่อมรถจากประกันเหล่านี้ได้

5. ไม่มีใบขับขี่ก็เบิก พ.ร.บ. ได้

แม้ว่าผู้ขับขี่จะไม่มีใบขับขี่ ไม่ได้พกใบขับขี่ หรือใบขับขี่หมดอายุในวันนั้นพอดีละก็ ไม่ต้องกังวลไป เพราะอย่างไรก็ยังคงได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ในฐานะผู้ประสบภัยนั่นเอง

6. รถยนต์ทุกคันต้องต่อพ.ร.บ. ทุกปี

สำหรับ พ.ร.บ.รถยนต์ และ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น และเมื่อ พ.ร.บ. ครบกำหนด จะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. หากปล่อยให้ พ.ร.บ.ขาด นอกจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว ยังมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท อีกด้วย

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

7. ถ้าไม่มี พ.ร.บ. จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้

พ.ร.บ. รถยนต์ ถือเป็นเอกสารที่สำคัญในการต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ ซึ่งหากรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ไม่มี พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ ดังนั้นจึงควรทำการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ ไม่เช่นนั้นจะมีผลดังนี้

  • รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ได้ต่อภาษีในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน พร้อมค่าภาษี
  • กรณีขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ทะเบียนรถยนต์จะถูกระงับ

8. เบี้ย พ.ร.บ. คิดตามประเภทของรถยนต์

ค่าเบี้ย พ.ร.บ.รถยนต์ จะถูกกำหนดตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ โดยมีอัตราเบี้ย พ.ร.บ. ดังนี้

  • รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) ราคาประมาณ 600 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) ราคาประมาณ 900 บาท
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) ราคาประมาณ 1,100 บาท

*หมายเหตุ*: ราคา พ.ร.บ.ของแต่ละบริษัทฯ อาจจะมีราคาแตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่มเติม >>> ค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาเท่าไร

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

9. พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นเอกสารขนาด A4 ไม่ใช่ป้ายภาษีหรือป้ายวงกลม

หลายคนมักสับสนหรือจำสลับกันระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ซึ่งเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นจะมีลักษณะเป็นกระดาษขนาด A4 ไม่ใช่ป้ายวงกลม หรือป้ายสี่เหลี่ยมที่ติดหน้ากระจก ซึ่งสิ่งนั้นเรียกว่า ป้ายภาษี นั่นเอง

10. สามารถต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

หากใครที่กลัว พ.ร.บ. รถยนต์ขาด หรือกลัวลืม ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ละก็ สามารถต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือไม่เกิน 90 วัน

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

และนี่ก็คือ 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่มาสินำมาฝากกัน หวังว่าเพื่อนๆ คงเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ กันมากขึ้นนะคะ และหากใครที่ต้องการซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางมาสิได้เลยค่ะ

สนใจสมัครประกันรถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร

หรือหากใครที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อสมัครประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ หรือโทร.มาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันบิ๊กไบค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะcar insurance banner