อุบัติเหตุบนท้องถนน สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอุบัติเหตุแต่ละครั้ง อาจสร้างความสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินได้ไม่มากก็น้อย ทำให้หลายคนนิยมซื้อประกันภัยรถยนต์ไว้เพื่อความอุ่นใจ หากเกิดเหตุใดๆ ก็ยังได้รับความคุ้มครอง แต่หากรถชน แล้วไม่มีประกันรถยนต์ เราก็ยังมี พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองอยู่เช่นกัน ถ้าอยากรู้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ตาม masii ไปดูกันเลย
ถ้าหากรถชน แม้ไม่มีประกัน แต่ว่า ยังมีพ.ร.บ.รถยนต์ ที่คุ้มครองอยู่นะ
เพราะรถยนต์ทุกคัน จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับ โดย พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เปรียบเสมือนการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้ประสบภัย ได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ทุกชนิด ทั้ง รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ รถมอเตอร์ไซค์ รถบิ๊กไบค์ รถทัวร์ และรถบรรทุก ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใด ก็จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.เหมือนกัน ดังนี้
ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้ว่ารถยนต์คันเกิดเหตุจะไม่ได้ซื้อประกันภัยรถยนต์ แต่หากรถยนต์คันนั้นมี พ.ร.บ.รถยนต์ ทางผู้ประสบภัยก็ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากทาง พ.ร.บ. โดยที่ยังไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิดหรือฝ่ายใดถูก โดยผู้ประสบภัยทุกคนจะได้รับวงเงินความคุ้มครอง ดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพ จะได้ค่าเสียหายเบื้องต้น คนละไม่เกิน 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บ และทุพพลภาพในลำดับต่อมา จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชยเป็นค่าปลงศพ รายละ 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตในภายหลัง จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมไม่เกิน 65,000 บาท
ฝ่ายถูกได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม
ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์คดีจากอุบัติเหตุแล้วพบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายนั้นจะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลสามารถเบิก พ.ร.บ. ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ
-
- สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว ได้รับเงินชดเชยคนละ 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
- ค่าชดเชยกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)
เบิกค่ารักษาพยาบาล จาก พ.ร.บ.รถยนต์ อย่างไร
หากผู้ประสบภัย ซึ่งได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ สามารถทำเรื่องเบิกประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ ได้ภายใน 180 วัน โดยยื่นเรื่องผ่านโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือยื่นเรื่องผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (โทร. 1791) โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม สามารถยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. ผ่านทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- ภายหลังจากได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อทำการแจ้งเคลมและบอกเหตุการณ์
- แต่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยชอบธรรมจะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อนำใบแจ้งความมาเป็นเอกสารในการเบิก พ.ร.บ.
- นำเอกสารต่างๆ ไปยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางบริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ. หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- จากนั้นทาง พ.ร.บ. จะชดเชยค่าเสียหายต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น หรือ ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม ภายใน 7 วันทำการ
- การดำเนินเรื่องเบิกประกัน พ.ร.บ. สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วันนับจากวันเกิดเหตุ
- ค่าเสียหายจะจ่ายให้กับผู้เสียหายตัวจริง หรือผู้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยธรรม
- หากผู้ใดยื่นขอรับค่าเสียหายโดยทุจริต หรือยื่นหลักฐานอันเป็นเท็จ มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
- สำเนาใบขับขี่
- สำเนาทะเบียนรถยนต์
- ใบแจ้งความ แจ้งการเกิดอุบัติเหตุ
เอกสารเพิ่มเติม กรณีเป็นผู้ป่วยนอก
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
- ใบรับรองแพทย์
เอกสารเพิ่มเติม กรณีเป็นผู้ป่วยใน (เฉพาะฝ่ายถูก)
- ใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
เอกสารเพิ่มเติม กรณีเสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนของทายาทโดยธรรม
- สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ข้อมูลจาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
ต้องบอกเลยว่า พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก อย่างไรแล้วอย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. หมดอายุเด็ดขาด โดยสามารถทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ล่วงหน้า 3 เดือน หรือ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางมาสิได้ง่ายๆ
สนใจซื้อประกันภัยรถยนต์
แต่หากใครต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ก็สามารถเลือกซื้อประกันรถยนต์ได้ โดย คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิก่อนได้ หรือโทรศัพท์มาพูดคุยสอบถามกับทีมงานได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ