สำหรับผู้ที่ขับขี่รถยนต์ หลายคนอาจเกิดความสับสนว่า พ.ร.บ. รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะทั้งพ.ร.บ.รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ ต่างก็ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่รถยนต์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าอย่างนั้นตาม masii มาดูกันสิว่า ประกันรถยนต์ และ พ.ร.บ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง และมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ความคุ้มครอง ของประกันภัยรถยนต์ กับ พ.ร.บ. เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
สำหรับความคุ้มครองของ ประกันรถยนต์ จะให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ทั้งของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณี โดยจะมีอายุความคุ้มครอง 1 ปี เมื่อ ประกันรถยนต์ หมดอายุ จะต้องทำการต่อประกันรถยนต์เพื่อรับความคุ้มครองต่อ โดยประกันรถยนต์จะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
ประกันรถยนต์ ชั้น 1
- คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ทั้งของคู่กรณีและผู้เอาประกัน
- คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถพลิกคว่ำ รถชนต้นไม้ ชนฟุตบาธ
- คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้รถ น้ำท่วมรถ
- เงินประกันตัวผู้ขับขี่
ประกันรถยนต์ ชั้น 2+
- คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ทั้งของคู่กรณีและผู้เอาประกัน
- คุ้มครองค่าซ่อมรถคันเอาประกัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกับรถเท่านั้น
- คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้รถ น้ำท่วมรถ (บางกรมธรรม์)
- เงินประกันตัวผู้ขับขี่
ประกันรถยนต์ ชั้น 3+
- คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ทั้งของคู่กรณีและผู้เอาประกัน
- คุ้มครองค่าซ่อมรถคันเอาประกัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกับรถเท่านั้น
- เงินประกันตัวผู้ขับขี่
- ไม่คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้รถ
ประกันรถยนต์ ชั้น 3
- คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน เฉพาะของคู่กรณีเท่านั้น
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และชดเชยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแก่ผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร
- คุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่
- ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถคันทำประกัน
- ไม่คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้รถ
พ.ร.บ. รถยนต์
ส่วน พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ ซึ่งเปรียบเสมือน ประกันภัยภาคบังคับ เพื่อใช้เป็นหลักประกันความปลอดภัยขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกในกรณีที่ได้รับความเสียหายแก่ชีวิตและร่างกายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี จากนั้นต้องทำการต่ออายุ พ.ร.บ. ทุกๆ ปี แต่หากไม่ได้ทำ พ.ร.บ. จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถได้ และยังมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท หรือหากในกรณีที่มี พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว แต่ไม่สามารถแสดงให้เจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ความคุ้มครอง พ.ร.บ. รถยนต์
สำหรับรถยนต์ที่มี พ.ร.บ.รถยนต์ เมื่อรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ และมีผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสาร ได้รับบาดเจ็บต่อชีวิตและร่างกาย จะสามารถเบิกวงเงินความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ได้ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิด
-
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บ และสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิตในภายหลัง จะได้รับเงินชดเชย คนละไม่เกิน 65,000 บาท
2. ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม (ค่าเสียหายส่วนเกิน) ได้รับเฉพาะฝ่ายถูก
-
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
- สูญเสียนิ้วตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยคนละ 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- กรณีต้องผ่าตัดใช้กะโหลกศีรษะเทียม ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
- ค่าชดเชยรายวัน คนละไม่เกิน 4,000 บาท หรือ 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (กรณีต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล)
สนใจซื้อประกันภัยรถยนต์
พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำอยู่แล้ว แต่หากใครที่ต้องการซื้อประกันรถยนต์เพิ่มเติม สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ หรือหากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทร.มาได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง รวมไปถึง ประกันสุขภาพ ประกันโควิด-19 และผลิตภัณฑ์ประกันอื่นๆ ได้