วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ประจำปี แบบง่ายๆ ใครที่กำลังจะต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องชำระภาษีรถยนต์เท่าไรละก็ วันนี้ masii ก็มีสูตรคำนวณภาษีรถยนต์มาฝากกันแล้ว ไปดูกันสิว่าจะมีวิธีคิดค่าภาษีรถยนต์อย่างไรบ้าง
วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ประจำปี แบบง่ายๆ
ภาษีรถยนต์ จะมีการคิดราคาไม่เหมือนกัน โดยจะยึดอัตราภาษีรถยนต์ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละประเภท ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ และอายุของรถ รวมถึงลักษณะการใช้งาน ว่าเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล หรือ รถยนต์รับจ้าง เป็นต้น
1. รถเก๋ง / รถกระบะ 4 ประตู
สำหรับ รถเก๋ง หรือ รถกระบะ 4 ประตู ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีดำ และเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะคำนวณภาษีรถยนต์จากขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) ดังนี้
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 50 สตางค์
- 601 – 1,800 ซีซีละ 1.50 บาท
- 1,801 ซีซีขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์
รถเก๋ง เครื่องยนต์ 1,500 ซีซี
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 50 สตางค์ = 600 x 0.5 = 300 บาท
- 601-1500 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท = (1500 – 601) = 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท
- รวมค่าภาษีรถยนต์ทั้งหมด คือ 300 + 1348.50 = 1,648.50 บาท
รถยนต์กระบะ 4 ประตู เครื่องยนต์ 3,000 ซีซี
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 50 สตางค์ = 600 x 0.5 = 300 บาท
- 601-1800 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท = (1800 – 601) = 1199 x 1.50 = 1,798.50 บาท
- 1,801-3,000 ซีซี ซีซีละ 4 บาท = (3000-1801) = 1199 x 4.00 = 4,796 บาท
- รวมค่าภาษีรถยนต์ทั้งหมด คือ = 300 + 1,798.50 + 4,796 บาท = 6,894.50 บาท
รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้
- อายุรถยนต์เกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุรถยนต์เกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุรถยนต์เกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุรถยนต์เกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุรถยนต์เกิน 10 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ที่ได้ส่วนลด
รถกระบะ 4 ประตู เครื่องยนต์ 2,755 ซีซี ต้องเสียต่อภาษีรถยนต์ปีละ 5,920 บาท
- หากอายุรถเข้าปีที่ 6 จะได้ส่วนลด 10% = 5,920-10% = 5,328 บาท
- หากอายุรถเข้าปีที่ 7 จะได้ส่วนลด 20% = 5,920-20% = 4,736 บาท
- หากอายุรถเข้าปีที่ 8 จะได้ส่วนลด 30% = 5,920-30% = 4,144 บาท
- หากอายุรถเข้าปีที่ 9 จะได้ส่วนลด 40% = 5,920-40% = 3,552
- หากอายุรถตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้ส่วนลด 50% = 5,920-50% = 2,960 บาท
2. รถกระบะ 2 ประตู
สำหรับ รถกระบะ 2 ประตู หรือ รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือเขียว จะคำนวณภาษีรถยนต์จากน้ำหนักรถ ที่สามารถเช็กได้จากเล่มทะเบียนรถยนต์ โดยมีอัตราภาษีรถยนต์ ดังนี้
- น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท
3. รถตู้
สำหรับ การคิดภาษีรถตู้ หรือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีฟ้า ก็จะคิดคำนวณภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักรถยนต์เช่นกัน แต่คนละอัตรา ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,600 บาท
และนี่ก็คือ วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ประจำปี แบบง่ายๆ ที่มาสินำมาฝากกัน โดยเพื่อนๆ สามารถนำไปคิดค่าภาษีรถยนต์ที่ต้องชำระกันได้เลย และหากใครที่ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์สำเร็จแล้วละก็ อย่าลืมที่จะขับขี่รถยนต์กันอย่างปลอดภัยด้วยนะ และถ้าจะให้ดีมาสิแนะนำว่าควรทำประกันรถยนต์ไว้ด้วยเพื่อความอุ่นใจ โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
หรือหากใครมีข้อสงสัยและต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทร.มาพูดคุยกับทีมงานได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ