ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร

ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร
ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

สำหรับใครที่มีรถยนต์ส่วนตัว แน่นอนว่านอกจากจะต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปีแล้ว ก็ต้องทำการเสียภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์เป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนการต่อทะเบียนรถยนต์นั้นก็ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม ซึ่งหากใครที่มีรถกระบะ วันนี้ masii ก็มีขั้นตอนการต่อทะเบียนรถกระบะมาฝากกันแล้ว ไปดูกันเลยว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

ต่อทะเบียนรถกระบะทำอย่างไร

ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร

1. เตรียมเอกสารสำหรับต่อทะเบียนรถยนต์

ก่อนจะเริ่มต้นทำการต่อภาษีรถกระบะ หรือต่อทะเบียนรถกระบะ เจ้าของรถก็ควรเตรียมพวกเอกสารต่างๆ ให้พร้อมเสียก่อน ซึ่งก็คือ เล่มทะเบียนรถยนต์ ที่ระบุรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ ทั้งรุ่นรถ เลขเครื่อง เลขตัวถัง ชื่อเจ้าของรถ เป็นต้น โดยควรเตรียมทั้งเล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริงและสำเนา

ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร

2. อย่าลืมเอกสารรับรองการติดแก๊ส

หากรถกระบะคันไหนที่ติดแก๊ส ไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือแก๊ส LPG จะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ซึ่งต้องมีการแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก โดยหลังจากที่ได้รับการบันทึกการติดตั้งแก๊สลงในสมุดคู่มือจดทะเบียนแล้ว หากเป็นรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส LPG จะต้องตรวจสอบถังบรรจุก๊าซทุกๆ 5 ปี หากเป็นรถติดแก๊ส NGV ต้องตรวจทุกๆ 1 ปี โดยควรตรวจกับสถานที่ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง และมีวิศวกรออกใบรับรองอย่างถูกต้อง เมื่อตรวจครบและได้เอกสารแล้วก็สามารถนำยื่นต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์ได้เลย

3. รถเกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพรถด้วยนะ

แต่หากรถกระบะที่ใช้มีอายุเกินกว่า 7 ปี ต้องไปตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง หรือนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งโดยตรงเลยก็ได้ ขั้นตอนหลักๆ ของการตรวจสภาพรถยนต์ ก็จะมี ตรวจสอบระบบเบรก ระบบไฟต่างๆ เป็นต้น

ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร

4. อย่าลืมทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เด็ดขาด

ถึงจะมีเอกสารต่างๆ ครบแล้ว แต่ถ้ารถยนต์ของคุณยังไม่มี พ.ร.บ. หรือยังไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ละก็ ก็จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์นะจ๊ะ โดยราคา พ.ร.บ. รถกระบะ เมื่อรวมภาษีแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ 967 บาท และเมื่อทำการ ต่อ พ.ร.บ.รถกระบะ เรียบร้อยแล้ว ให้นำหลักฐานหรือเอกสารของพ.ร.บ. รถกระบะ ที่เราได้ทำนั้น แนบไปในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถกระบะด้วย

ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร

5. ชำระค่าภาษีรถกระบะ

เมื่อเอกสารต่างๆ ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สมุดเล่มทะเบียนรถ เอกสารรับรองการติดแก๊ส (สำหรับรถติดแก๊สเอกสารรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถเกิน 7 ปี) และ พ.ร.บ.รถยนต์ ต่อไปก็เป็นขั้นตอนของการชำระค่าภาษีรถกระบะแล้วล่ะค่ะ โดยค่าภาษีรถกระบะนั้น จะคิดคำนวณ  ดังนี้

รถกระบะ 4 ประตู

  • 600 ซีซีแรก คิดซีซีละ 0.50 บาท
  • 601 – 1,800 ซีซี คิดซีซีละ 1.50 บาท
  • ตั้งแต่ 1,800 ซีซี คิดซีซีละ 4.00 บาท

สมมติว่า รถกระบะเครื่องยนต์ 2500 ซีซี จะต้องเสียภาษีประมาณ 4,900 บาท และเมื่อใช้งานรถยนต์ 6 ปีขึ้นจะได้รับส่วนลดภาษีรถยนต์ 10%, 20%, 30%, 40% ตามลำดับ และปีที่ 10 ได้ลดหย่อนภาษี 50% เมื่อคำนวณภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่าย ให้เรานำเอกสารทั้งหมด คือ สำเนาทะเบียนรถยนต์, ใบตรวจรับรองสภาพแก๊ส (ถ้ามี), ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ถ้ามี) และเอกสารแนบท้ายกรมธรรมพ.ร.บ. นำไปจ่ายค่าภาษีรถยนต์ตามช่องทางต่างๆ ที่เปิดรับชำระเงิน เช่น สำนักงานขนส่ง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ทำการไปรษณีย์ เป็นต้น

ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร

รถกระบะ 2 ประตู 

แต่สำหรับรถกระบะ 2 ประตู ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว การคิดภาษีรถยนต์จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถที่ได้ระบุข้อมูลไว้ในเล่มทะเบียนรถ ดังนี้

น้ำหนักรถ/กิโลกรัม   อัตราภาษีรถยนต์
501- 750  450 บาท
751 – 1,000 600 บาท
1,001 – 1,250 750 บาท
1,251 – 1,500 900 บาท
1,501 – 1,750 1,050 บาท
1,751 – 2,000 1,350 บาท
2,001 – 2,500 1,650 บาท

ต่อทะเบียนรถกระบะ ทำอย่างไร

เมื่อได้ทราบขั้นตอนการต่อภาษี หรือการต่อทะเบียนรถกระบะที่มาสิได้นำมาฝากกันในวันนี้ ก็อย่าปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดนะจ๊ะ อ้อ..นอกจากนี้ เรายังสามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หากใครสะดวกก็ไปต่อทะเบียนกันล่วงหน้าได้เลย ที่สำคัญอย่าลืมว่าควรขับรถอย่างมีสติ ไม่ประมาท เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าจะให้ดีควรทำประกันรถยนต์ไว้ด้วย ก็จะเพิ่มความอุ่นใจมากขึ้น

 สนใจสมัครประกันรถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร

หากใครสนใจอยากทำประกันรถยนต์ ก็สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้เลย หรือโทร.หามาสิได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหืรอติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้เลยจ้าcar insurance banner