ต่อ พ.ร.บ. กับ ต่อทะเบียนรถ เหมือนหรือต่างกันยังไง คำถามนี้อาจอยู่ในใจของใครหลายๆ คน ที่ยังเกิดความสับสนว่าการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับ การต่อทะเบียนรถยนต์ นั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง มีความสำคัญต่อผู้ขับขี่รถยนต์อย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไรบ้างนั้น เราไปหาคำตอบพร้อมกับ masii กันเลยค่ะ
ต่อ พ.ร.บ. กับ ต่อทะเบียนรถ เหมือนหรือต่างกันยังไง
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร
การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นเหมือนการต่อประกันรถยนต์ภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ พ.ร.บ. หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นการประกันภัยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถ ได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยจะให้การชดเชยเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น
ทั้งนี้ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ หมดอายุ จะต้องทำการ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ โดยสามารถทำการต่อพ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน และหากนำรถที่ไม่มี พ.ร.บ. มาใช้ขับขี่บนถนน นอกจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. แล้ว ยังมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท และยังไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้อีกด้วย
ต่อทะเบียนรถยนต์ คืออะไร
ส่วนการต่อทะเบียนรถยนต์ หรือ การต่อภาษีรถยนต์นั้น ก็เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำเป็นประจำทุกปีเช่นกัน นอกจากจะเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับแล้ว ภาษีที่เสียไปนั้นก็จะถูกนำไปพัฒนาเส้นทางคมนาคมต่อไปอีกด้วย โดยหลังจากที่ได้ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์แล้วนั้น ก็จะได้รับป้ายภาษีที่แสดงวันหมดอายุชัดเจน ซึ่งมีอายุ 1 ปี หลังจากนั้นต้องทำการต่อทะเบียนรถ โดยสามารถต่อทะเบียนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
ทั้งนี้หากต่อทะเบียนรถยนต์ล่าช้า จะมีค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ และหากปล่อยให้ทะเบียนรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับการใช้งาน ต้องจดทะเบียนรถใหม่พร้อมกับเสียค่าปรับในการต่อภาษีรถยนต์
เอกสารที่ใช้ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริง หรือ สำเนา)
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
- เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สNGV หรือ LPG)
เอกสารที่ใช้ต่อทะเบียนรถยนต์
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริง หรือ สำเนา)
- ส่วนท้ายของ พ.ร.บ.รถยนต์
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
- เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สNGVหรือ LPG)
เมื่อเพื่อนๆ ได้ทราบกันไปแล้วว่า ต่อ พ.ร.บ. กับ ต่อทะเบียนรถ เหมือนหรือต่างกันยังไงนั้น หากใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ ภาษีรถยนต์ ใกล้หมดอายุ ก็อย่าลืมไปต่อ พ.ร.บ. และต่อภาษี หรือ ต่อทะเบียนกันด้วยนะ และหากใครที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถโทร.มาสอบถามรายละเอียดต่างๆ กับทีมงานมาสิ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ