หากพูดถึงอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่อยู่ในรถยนต์ คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ถุงลมนิรภัย” ถุงลมที่ช่วยลดแรงกระแทกจากการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมีติดตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ในรถยนต์ ซึ่งเพื่อนๆ รู้ไหมว่า ถุงลมนิรภัยมีระบบการทำงานอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง เราตาม masii ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
ถุงลมนิรภัยสำคัญยังไง มีระบบการทำงานอย่างไร
ถุงลมนิรภัย (Air Bag) เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยลดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่ให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้รับความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต มีลักษณะเป็นถุงลมขนาดใหญ่ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายหมอนนุ่มๆ เพื่อช่วยป้องกันผู้โดยสารจากการกระแทกกับวัตถุภายในรถยนต์ เช่น พวงมาลัย คอนโซลลรถ ประตู หน้าต่าง เป็นต้น
ถุงลมนิรภัย มีระบบการทำงานอย่างไร
เมื่อรถยนต์เกิดการชน หรือเกิดการกระแทกที่รุนแรงเกินกว่าที่กำหนด จะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระแทก และมีการสั่งให้ถุงลมนิรภัยทำงาน และพองตัวออกมาอย่างรวดเร็ว โดยแก๊สที่บรรจุภายในนั้นเป็นสารเคมีโซเดียมเอไซด์ (Sodium Azide) เมื่อเกิดการกระแทกจะเกิดปฏิกิริยาสลายตัวกลายเป็นโลหะโซเดียม และแก๊สไนโตรเจน ซึ่งไหลไปบรรจุในถุงลมนิรภัยที่พับอยู่ให้พองตัวขึ้นมา ซึ่งใช้เวลาเพียง 0.04 วินาที ด้วยความเร็ว 300 กม./ชม. และหลังจากนั้นถุงลมนิรภัยจะค่อยๆ ยุบตัวลง เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงลมอัดกับใบหน้าผู้โดยสารนานเกินไป จนทำให้หายใจไม่ออก หรือมองไม่เห็นเส้นทาง และอาจก่อให้เกิดอันตรายอื่นๆ ตามมาได้
ถุงลมนิรภัย อยู่ตำแหน่งไหนของรถยนต์
ตำแหน่งของถุงลมนิรภัยจะแตกต่างกันไปตามรถยนต์แต่ละรุ่นและยี่ห้อ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสำหรับรถยนต์ทั่วไป จะมีถุงลมนิรภัยขั้นต่ำอยู่ที่ 2 ตำแหน่ง ถ้าเป็นรถยนต์หรูที่มีราคาแพงขึ้นมา มักจะมีถุงลมนิรภัย 4-6 ตำแหน่ง หรือในบางรุ่นก็มีมากถึง 8 ตำแหน่ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ถุงลมด้านหน้า (Front Airbag)
จะติดตั้งอยู่บนโครงด้านหน้าขวาและซ้าย ช่วยป้องกันคนขับรถ และคนที่นั่งข้างคนขับ เมื่อเกิดการชนจากด้านหน้าหากมีการชนอย่างรุนแรงเซ็นเซอร์จะจับได้ว่ามีแรงปะทะ เกินค่าที่กำหนดถุงลมจะพองตัวภายในเวลา 0.015-0.030 วินาที ถุงลมจะพองตัว โดยมีเข็มขัดนิรภัยช่วยดึงร่างกายส่วนล่างและส่วนบน ส่วนถุงลมจะช่วยรองรับหน้าอกและศีรษะ ไม่ให้กระทบกระเทือนมากเกินไป
2. ถุงลมด้านข้าง (Side Airbag)
จะติดตั้งอยู่ที่แผงประตูหรือที่ตัวเบาะนั่ง ขึ้นอยู่กับการผลิต โดยมีเซ็นเซอร์เหมือนกับถุงลมด้านหน้า นิยมติดตั้งเอาไว้เพื่อป้องกันการกระแทกตรงส่วนครึ่งกลาง และด้านล่างของร่างกาย
3. ม่านถุงลม (Curtain Airbag)
ช่วยป้องกันการชนจากด้านข้างในระดับปานกลางถึงรุนแรง ถุงลมแบบม่านจะพองตัวออกมา ช่วยป้องกันไม่ให้ใบหน้าและศีรษะได้รับแรงกระแทก มักจะติดตั้งในรถยนต์ที่มีราคาแพง
4. ถุงลมป้องกันเข่าและขา (Knee Airbag)
จะติดตั้งอยู่ใต้คอนโซลด้านผู้ขับขี่บริเวณหัวเข่า ช่วยป้องกันขา และหัวเข่า ไม่ให้ไปชนเข้ากับคอนโซล ด้านล่างใต้พวงมาลัย รวมทั้งสะโพก และเข่า
5. ถุงลมที่พื้นใต้เท้า (Carpet Airbag)
ทำหน้าที่ช่วยผ่อนแรงบริเวณเท้าที่จะไปกระแทกกับพื้น และผนังกั้นระหว่างห้องโดยสาร และห้องเครื่องให้เบาลง แต่ปัจจุบันจะไม่ค่อยนิยมใช้เท่าไหร่นัก
ปัจจุบันทางผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ขับขี่จำเป็นต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะขับรถ เพื่อความสามารถในการใช้งานถุงลมนิรภัยได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ระบบจะตัดการทำงานของถุงลมนิรภัยทันที ซึ่งจะทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานหากเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า ถุงลมนิรภัยสำคัญยังไง มีระบบการทำงานอย่างไร ก็คงทำให้ทุกคนได้รู้จักถุงลมนิรภัยในรถยนต์กันมากขึ้น แต่ถ้าจะให้ดี อย่าให้เกิดเหตุการณ์ที่ต้องได้ใช้ถุงลมนิรภัยเลยจะดีกว่า และที่สำคัญควรขับรถอย่างปลอดภัย ไม่ประมาท และสามารถทำประกันรถยนต์เพิ่มเติมได้ เพียง คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถโทร.มาสอบถามรายละเอียด หรือขอคำปรึกษากับทีมงานมาสิได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันสุขภาพ ประกันเดินทาง รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ