อย่างที่ทราบกันดีว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หรือ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เป็นสิ่งที่รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องมี เพราะถือเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 อีกทั้งยังถือเป็นการทำประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลภายนอกในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุอีกด้วย โดยอายุความคุ้มครองของ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี หลังจากที่ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์หมดอายุ เจ้าของรถจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี หรือหากใครต้องการต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าก็สามารถทำได้ แต่จะต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ล่วงหน้าได้กี่เดือน เราไปหาคำตอบพร้อมกับ masii กันเลยจ้า
ต่อ พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ล่วงหน้าได้กี่เดือน
สำหรับการต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ นั้น จะส่งผลต่อการ ต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์ หรือต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ เพราะหากรถมอเตอร์ไซค์ของคุณไม่มี พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถทำการเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ได้ ซึ่งหากรถมอเตอร์ไซค์คันไหนไม่ได้ทำ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ก็จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท และหากปล่อยให้ภาษีรถมอเตอร์ไซค์ขาดนานเกิน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ และหากนำรถมอเตอร์ไซค์ที่ขาดการต่อทะเบียนหรือยังไม่ได้จ่ายภาษีเกิน 3 ปี มาใช้ หากเจอเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ จะมีโทษปรับ 1,000 บาท พร้อมยึดป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ทันที
แต่สำหรับใครที่ไม่ได้ ต่อพ.ร.บ หรือ ชำระภาษีรถมอเตอร์ไซค์ เป็นเวลา 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี ก็สามารถทำการ ต่ออายุ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ได้เลย แต่จะต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน สำหรับการชำระภาษีมอเตอร์ไซค์ย้อนหลัง และหากรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้มีอายุเกินกว่า 5 ปี ก็ต้องทำการตรวจสภาพรถที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วจึงนำใบรับรองการตรวจสภาพรถมาใช้ในการต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ หรือ ชำระภาษีและต่อทะเบียนมอเตอร์ไซค์
แต่หากเกิน 3 ปี ป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์จะถูกระงับ ทำให้ต้องทำเรื่องขอจดทะเบียนใหม่ และต้องไปชำระค่าภาษีที่ค้าง 3 ปี จากนั้นจึงจะสามารถทำ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ และสามารถใช้รถมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ หมดอายุนาน โดยคุณสามารถต่อภาษีและ ต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ก่อนล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือประมาณ 90 วัน ก่อนที่ภาษีรถมอเตอร์ไซค์หรือ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์จะหมดอายุ ซึ่งราคาค่าเบี้ยของ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์มีดังนี้
พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ราคาเท่าไร
สำหรับราคาค่าเบี้ย พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ จะแบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการพาณิชย์หรือรับจ้าง ซึ่งจะแบ่งราคาตามขนาดเครื่องยนต์ ดังนี้
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 323.14 บาท
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 430.14 บาท
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท
- รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 323.14 บาท
รถจักรยานยนต์ประเภทรับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 376.64 บาท
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 430.14 บาท
- รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ และ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ มีเพื่อช่วยคุ้มครองและชดเชยค่าความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถมอเตอร์ไซค์ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือพิการทุพพลภาพ รวมไปถึงค่าปลงศพ ในกรณีที่เสียชีวิต อีกทั้ง พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ยังคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งความคุ้มครองของ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ มีหลักๆ ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น เบิกตามจริงได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท (ได้ทุกฝ่าย โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิด)
- ค่าปลงศพ หรือค่าใช้จ่ายในงานศพ ไม่เกิน 35,000 บาท (โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิด)
- หากเกิดการบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูก โดยเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุดคนละ 80,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 300,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดคนละ 300,000 บาท
- เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์นั้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลภายนอก หากใครสังเกตเห็นว่า พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ใกล้หมดอายุแล้ว ก็สามารถไปต่อพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ล่วงหน้าก่อนได้และ สามารถต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือ 90 วัน ทั้งนี้หากใครต้องการต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ก็สามารถติดต่อกับตัวแทนบริษัทประกันภัยได้เลยค่ะ
สนใจสมัครประกันรถมอเตอร์ไซค์
และถ้าอยากเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมมากขึ้นไปอีก มาสิแนะนำว่าควรทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ ที่ช่วยคุ้มครองทั้งตัวรถมอเตอร์ไซค์ และตัวของผู้เอาประกันและคู่กรณี หากใครสนใจก็สามารถติดต่อกับมาสิได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ หรือติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ หรือประกันรถมอเตอร์ไซค์ได้เลยจ้า