สำหรับใครที่ใช้รถยนต์อยู่เป็นประจำ นอกจากจะต้อง ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ อยู่ทุกๆ ปีแล้ว เรายังต้องทำการ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นประจำทุกปีอีกด้วย โดยหากรถยนต์คันใดที่ไม่ได้ต่อภาษีเกินกว่า 3 ปีจะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับได้ และหากใครที่กำลังสงสัยว่า ภาษีรถยนต์ มีราคาเท่าไร และมีวิธีคิดคำนวณภาษีรถยนต์อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปหาคำตอบกับ masii กันเลยค่ะ
ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร
ราคาของภาษีรถยนต์นั้นจะไม่เท่าเหมือนกันหมด แต่จะขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ที่ใช้ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ น้ำหนักและอายุของรถ รวมถึง ลักษณะการใช้งาน หากเป็นรถยนต์รับจ้างหรือขนส่ง ราคาก็จะต่างจากรถยนต์ส่วนบุคคล
รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ)
การคำนวณราคาภาษีรถยนต์ จะคิดจากขนาดของเครื่องยนต์ หรือ ซีซี หากรถยนต์ที่ใช้มีเครื่องยนต์ใหญ่ก็จะยิ่งมีภาษีสูงขึ้น โดยรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง จะมีอัตราภาษีรถยนต์ ดังนี้
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 50 สตางค์
- 601 – 1,800 ซีซีละ 1.50 บาท
- 1,801 ซีซีขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ ของรถเก๋งอายุ 3 ปี ขนาดเครื่องยนต์ 1,500 ซีซี
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
- 601-1500 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท = (1,500 – 600) = 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท
เมื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมด มารวมกันจะเท่ากับราคาภาษีรถยนต์ที่ต้องเสีย คือ 300 + 1,348.50 = 1,648.50 บาท
รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว)
สำหรับรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ รถบรรทุก จะมีวิธีคิดคำนวณภาษีตามน้ำหนักและประเภทของรถยนต์
- น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)
สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ ก็จะมีวิธีคิดคำนวณภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักเช่นกัน แต่คนละอัตราภาษี ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท
นอกจากนี้ ภาษีรถยนต์ ยังมีการลดภาษี เมื่อรถยนต์มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยจะมีส่วนลดเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ดังนี้
- อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุการใช้งานเกิน 7 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุการใช้งานเกิน 8 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุการใช้งานเกิน 9 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุการใช้งานเกิน 10 ปีขึ้นไป ได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
เอกสารต่อภาษีรถยนต์
- สมุดคู่มือจดทะเบียน หรือ สำเนารายการจดทะเบียน
- พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ (เหลือวันหมดอายุมากกว่า 90 วัน)
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี หรือรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส
โดยสามารถทำเรื่องต่อภาษีได้ที่ กรมการขนส่งทางบก หรือร้านค้าที่รับ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ต่อภาษีรถยนต์ รวมถึง ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ที่ https://eservice.dlt.go.th หากใครต้องการ ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า สามารถต่อภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน และในกรณีที่ลืมต่อภาษีรถยนต์ ก็สามารถต่อภาษีย้อนหลังได้ แต่จะโดนค่าปรับ คิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน และหากขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนรถยนต์ ต้องติดต่อกับทางกรมขนส่งทางบก เพื่อยื่นเรื่องทำป้ายทะเบียนใหม่
ทั้งภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นเรื่องสำคัญที่คนใช้รถทุกคนควรให้ความใส่ใจ ห้ามปล่อยให้หมดอายุเด็ดขาด แต่อย่างไรแล้ว การขับรถที่ปฏิบัติตามกฎจราจร ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นการเคารพกฎจราจรแล้ว ยังเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับตัวเองและเพื่อนร่วมทางอีกด้วย
สนใจสมัครประกันรถยนต์
และหากใครต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมก็สามาระเลือกทำประกันรถยนต์ได้ โดย คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ หรือโทรมาสอบถามข้อมูลที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันบิ๊กไบค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง รวมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ